วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กะเพราศักสิทธิ์"พืชค้นพบใหม่"

สู่งานวิจัย...สมุนไพรให้ประโยชน์

ประเทศไทยเรายังมี สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายที่น่าค้นหาอยู่มากมาย ถึงแม้จะเป็น   สิ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างให้เห็น เช่น ชื่อเหมือนกันแต่คนละสายพันธุ์ ล่าสุดชุดคณะสำรวจพันธุ์ไม้ไทยได้ใช้เวลากว่า 2 ปี ในการสำรวจค้นพบ      กะเพราสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่ยังไม่เคยพบที่ใดมาก่อน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แสดงให้เห็นว่าบนผืนแผ่นดินไทยยังคงมีความอุดมสมบูรณ์

สมราน สุดดี ผู้เชี่ยวชาญไม้วงศ์กะเพราของไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์   ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่าย้อนถึงความยากลำบากในการสำรวจหา      พืชชนิดใหม่นี้ว่า เริ่มทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย

โดยจากการสำรวจทางพฤกษศาสตร์ของเจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช     ซึ่งต้องมีการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ทั่วประเทศเพื่อนำมาศึกษาวิจัยจัด ทำหนังสือพรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand) เพื่อให้ทราบว่าประเทศไทยมีทรัพยากรด้านพืชจำนวนเท่าใด ทั้งนี้ก็เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ ทรัพยากรพันธุ์พืชของประเทศ จึงได้ พบกะเพราชนิดใหม่ของโลกนี้ขึ้นอยู่  บนดินตื้น ๆ บนภูเขาหินทรายตามป่าเต็งรัง ลำต้นเป็นเหลี่ยม สูงประมาณ 50-60 ซม. กิ่งมีขนสั้น นุ่ม ใบเดี่ยวเรียงตรงสลับตั้งฉาก ยาว 0.4-1 ซม. แผ่นใบมีขนสากด้านบน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 ซม.

เหตุที่เป็นการพบครั้งแรกของโลก เพราะพืชชนิดนี้ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ซึ่งตนคุ้นเคยกับพืชกลุ่มนี้     ดี เพราะศึกษาพืชกลุ่มนี้มาก่อนสมัยทำการศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ที่สวนพฤกษ ศาสตร์คิว กรุงลอนดอน จึงได้เห็นตัวอย่างพืชกลุ่มนี้มาทั่วโลก ตอนเดินสำรวจและเก็บตัวอย่างค่อนข้างแน่ใจเลยว่าเป็นพืชชนิดใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะนำไปตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่จะต้องสำรวจตรวจสอบ ให้ละเอียดเสียก่อน เพราะอาจจะมีคนค้นพบในเวลาใกล้เคียงกันและตีพิมพ์ไปแล้ว

สรุปแล้วเราใช้เวลาในการสำรวจตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ พร้อมทั้งเดินทางไป     ดูตัวอย่างเพิ่มเติมในพิพิธภัณฑ์พืชต่างประเทศใช้เวลาประมาณ 2 ปี กว่า รวมแล้วก็ 3 ปีได้ จึงมั่นใจเต็มที่ว่า กะเพราที่ค้นพบนี้เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกและยังไม่เคยมีใครตีพิมพ์มาก่อน สำหรับ       พืชชนิดใหม่ของโลกนี้ได้มีการเตรียมเขียนตีพิมพ์ในปี 2553 นี้ โดยใช้ชื่อพรรณไม้ว่า Platostoma tridechii Suddee ซึ่งจะตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 38 ซึ่งเป็นวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก

จากการศึกษาพบว่าลักษณะของกะเพราศักดิ์สิทธิ์เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ประมาณ 2-3 ปี ชอบขึ้นในป่าเต็งรังบนสันภูของเขาหิน   ทราย พื้นที่ค่อนข้างเปิดโล่ง ความสูงจากระดับน้ำทะเล      ไม่เกิน 300 เมตร ออกดอกและติดผลเดือนตุลาคม-ธันวาคม โดยในปีแรกที่ขึ้นมาจะพัฒนามีเหง้าอยู่ใต้ดิน เมื่อออกดอกผลเสร็จ ลำต้นก็เหี่ยวแห้งไปในหน้าแล้ง เมื่อเข้าหน้าฝนใหม่ต้นก็จะงอก     มาใหม่จากเหง้าเดิม การขึ้นมักขึ้นเป็นกลุ่มดูเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้าง  เป็นสี่เหลี่ยม ใบสดเมื่อขยี้     จะมีกลิ่นหอมเล็กน้อย แตกต่างจากกะเพราบ้านที่ว่า กะเพราบ้านมีใบใหญ่กว่ามาก ใบมีกลิ่นหอมแรงกว่า รายละเอียดต่าง ๆ ด้านพฤกษศาสตร์ในเรื่องลักษณะของ   ดอกและผลก็แตกต่างกัน มาก เพราะกะเพราบ้านจัดอยู่ในสกุล Ocimum แต่ กะเพราศักดิ์สิทธิ์จัดอยู่ในสกุล Platoatoma ทั้งสองสกุลจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (Labiatae) เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามกะเพราศักดิ์สิทธิ์ที่เราค้นพบนี้จัดเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์อย่าง ยิ่ง (Critically Endangered) ตามหลักเกณฑ์ของ IUCN Red List ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ชัดเจนในการที่จะบอกว่าพืชชนิดนั้น ๆ ที่เราศึกษาจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มใด เป็นหลักเกณฑ์ที่ทุกประเทศทั่วโลกปฏิบัติตาม โดยกะเพราศักดิ์สิทธิ์ที่พบขึ้นอยู่บริเวณดินตื้นบนลานหินทรายที่     หน้าแล้งแห้งมาก ประชากรพบเพียงกลุ่มเดียวจากการสำรวจหลาย ๆ ครั้ง

สำหรับประวัติของกะเพราในเมืองไทยจัดอยู่ในวงศ์ Labiatae ลักษณะเด่น     ที่สังเกตได้ง่ายคือลำต้นส่วนใหญ่เป็นสี่เหลี่ยม ใบเรียง    ตรงข้ามสลับตั้งฉาก ไม่มียาง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดและมักสมมาตรด้านข้าง ประเทศไทยมีการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพื่อการศึกษาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 โดยมีหมอคาร์ นายแพทย์ชาวไอริช เป็นผู้สำรวจ

พืชวงศ์กะเพราในประเทศไทยเป็นพืชวงศ์ใหญ่ มีประมาณ 50 สกุล และประมาณ 250 ชนิด พบได้ทั่วประเทศตามลักษณะสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ไม้สัก (Tectona grandis L.f.)   ก็จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา แต่ละสกุลมีลักษณะเด่นแตกต่าง กันไป กะเพราที่เรารับประทานทั่วไปมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Ocimum tenuiflorum L. มี 2 พันธุ์ คือ ใบสีเขียว     กับใบสีแดง รูปร่างและรสเหมือนกันแต่ต่างกันที่สี ส่วนสกุล Platostoma ที่กะเพราศักดิ์สิทธิ์ถูกจัดอยู่ ในประเทศไทยมี 22 ชนิด ทั้งนี้จาก     การที่พืชวงศ์กะเพราเป็น   พืชวงศ์ใหญ่ จึงนิยมรับประทานเฉพาะบางสกุลเท่านั้น สรรพคุณทางสมุนไพร         ก็แตกต่างกันไป หลายสกุลมีสรรพคุณคล้ายกัน หลายสกุล   ต่างกัน

กะเพราบ้านเราที่นิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อรับ      ประทานเพื่อความหอมนั้นอยู่ต่างสกุลกับกะเพราศักดิ์สิทธิ์ มีสรรพคุณคือ รากใช้ต้มน้ำกินเป็นยาขับเหงื่อในคนไข้มาลาเรีย ใบแห้งบดเป็นยานัตถุ์แก้คัดจมูก ใบสดกินเป็นยาขับเหงื่อ ขับระดู ขับเสมหะ หยอดหูแก้ปวด เป็นยาระบาย น้ำต้มใบใช้บำรุงธาตุสำหรับเด็กและแก้ตับอักเสบ ดอกกินกับน้ำผึ้งแก้หลอดลมอักเสบ เมล็ดกินแก้โรคทางเดินปัสสาวะ ส่วนสรรพคุณของกะเพราศักดิ์ สิทธิ์ขณะนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ส่วนใหญ่แล้วพืชกลุ่มนี้มีสรรพคุณด้านสมุนไพรก็น่าจะมีสรรพ    คุณทางสมุนไพรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

พืชพรรณนานาชนิดในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น    พันธุ์เก่าหรือพันธุ์ใหม่ ถือเป็นสมบัติที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อประเทศทั้งสิ้น หากสำรวจค้นพบแล้วไม่มีการอนุรักษ์หรือวิจัยอย่าง     ต่อเนื่องก็เท่ากับว่าเราสูญเสีย    ทรัพยากรดี ๆ ของประเทศไปโดยปริยาย ดังนั้นเราจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ต่อ ไปในภายภาคหน้าก่อนที่กะเพราศักดิ์สิทธิ์    นี้จะสูญพันธุ์ไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น